วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โปรแกรมที่อยู่ในความดูแลของ BSA

Cadence Design Systems


CA




Bentley Systems







Adobe






Apple



Autodesk



AVG

กฎหมายลิขสิทธหรือสิทธิบัตร

ลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร
ทรัพย์สิน ทางปัญญา (intellectual property) ซึ่งหมายถึงสิทธิทางกฎหมายที่มีอยู่เหนือผลิตผลจาก ความคิดทางปัญญาของบุคคล มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงโดยตลอดควบคู่ไปกับการเปลี่ยนของพัฒนาการ ของเทคโนโลยี
เหตุผลสำคัญของการที่รัฐคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ก็เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ โดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือส่งเสริมการประดิษฐ์คิดค้น และส่งเสริมการจัดระเบียบการแข่งขันใน ตลาดการค้า
ผลงานทางปัญญาใดจะได้ รับการคุ้มครองย่อมขึ้นอยู่กับคุณค่าของผลงานนั้นเป็นสำคัญ ซึ่งก็ หมายความว่า ผู้ที่พัฒนาหรือสร้างสรรค์งานไม่อาจอ้างสิทธิทางกฎหมายในผลงานทางปัญญาของตน ได้ในทุก กรณี สิ่งที่จะได้รับการคุ้มครองจะต้องมีคุณสมบัติต้องตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ผลงานทางปัญญาที่ขาด คุณสมบัติจะไม่ตกเป็นสิทธิของผู้สร้างสรรค์ หากแต่เป็นความรู้สาธารณะ (knowledge in the public domain) ที่บุคคลใดๆ อาจนำไปใช้ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย หรือเป็นการผิดต่อศีลธรรม กฎหมาย ไม่คุ้มครองผลงานที่ขาดคุณสมบัติ ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าผู้สร้างสรรค์ได้ลงทุนหรือลงแรงไปกับผลงานนั้นมาก น้อยเพียงใด
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอาจจำแนกออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
สิทธิในทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (industrial property rights) และ
ลิขสิทธิ์ (copyright)


ความแตกต่างระหว่างสิทธิบัตรกับลิขสิทธิ์
กฎหมาย สิทธิบัตรให้การคุ้มครองเทคโนโลยีการประดิษฐ์ แต่กฎหมายของประเทศกำลังพัฒนาบาง ประเทศ รวมทั้งกฎหมายไทย มิได้คุ้มครองเฉพาะการประดิษฐ์เท่านั้น หากแต่คุ้มครองการออกแบบทาง อุตสาหกรรม (industrial designs) ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรด้วย ซึ่งการคุ้มครองในลักษณะนี้แตกต่างกับ กฎหมายของบรรดาประเทศอุตสาหกรรม ที่แยกการคุ้มครองการออกแบบทางอุตสาหกรรมไปไว้ภายใต้ กฎหมายอีกระบบหนึ่ง

ในขณะที่กฎหมายสิทธิบัตรคุ้มครองความคิด (idea) ที่อยู่ภายใต้การประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ กฎหมายลิขสิทธิ์ให้การคุ้มครองสำหรับการแสดงออกซึ่งความคิด (expression of idea) โดยมิได้คุ้มครองตัวความคิดโดยตรง ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ในงานประเภทที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เช่น งานวรรณกรรมนาฎกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ


สิทธิบัตร จะให้สิทธิที่จะกีดกันบุคคลอื่นมิให้ใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือแบบผลิตภัณฑ์ตาม สิทธิบัตร ซึ่งเท่ากับว่าผู้ทรงสิทธิเป็นผู้มีสิทธิผูกขาดโดยสมบูรณ์ (absolute monopoly right) ที่ปกป้องผู้ทรง สิทธิจากการแข่งขันของบุคคลอื่น ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าผู้กระทำละเมิดมีเจตนาที่จะลอกเลียนการประดิษฐ์ตาม สิทธิบัตรหรือไม่ ตัวอย่างเช่น นาย ก. ได้ขอรับสิทธิบัตรในการประดิษฐ์อันหนึ่งไว้ ต่อมา นาย ข. ได้คิดค้น การประดิษฐ์แบบเดียวกันได้ โดยนาย ข. ได้คิดค้นการประดิษฐ์นั้นด้วยตนเอง เช่นนี้ นาย ข. อาจถูกนาย ก. ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรห้ามมิให้ใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ของตนได้ ถึงแม้ว่านาย ข. จะไม่ได้ลอกเลียนการ ประดิษฐ์ของนาย ก. ก็ตาม

สิทธิ ตามสิทธิบัตรจะเกิดขึ้นเมื่อมีการขอรับสิทธิจากรัฐ โดยต้องมีการทำเอกสารคำขอตามแบบที่กฎหมายกำหนด และเจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำการตรวจสอบคำขอและคุณสมบัติการประดิษฐ์ว่ามีความ ถูกต้องครบถ้วน จึงจะออกสิทธิบัตรให้ ส่วนผู้สร้างสรรค์งานประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้ จะได้ไปซึ่งลิขสิทธิ์ในงานนั้นโดยทันที โดยผู้สร้างสรรค์ไม่จำต้องนำงานไปจดทะเบียนหรือขอรับความคุ้มครองจากรัฐ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักการของอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรม และศิลปกรรม (Berne Convention for theProtection of Literary and Artistic Works) ที่ห้ามการกำหนดเงื่อนไขของการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดๆ1

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร

ลิขสิทธิ์คืออะไร?
ลิขสิทธิ์ คือการคุ้มครองทางกฎหมายที่ให้แก่การผลิตผลงานต้นฉบับในสหรัฐอเมริกา ลิขสิทธิ์คุ้มครองหนังสือ ภาพวาด รูปถ่าย ดนตรี วีดีโอ ซอฟต์แวร์ และอื่นๆ ลิขสิทธิ์จะอยู่ติดกับผลงานตั้งแต่ผลงานนั้นอยู่ในรูปที่จับต้องได้ (บนกระดาษ วีดีโอ และอื่น ๆ) และป้องกันคนอื่นเอาไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิต่าง ๆ ที่อยู่ด้วยกัน
ลิขสิทธิ์ เป็นสิทธิต่าง ๆ ที่อยู่ด้วยกัน รวมไปถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการจัดจำหน่าย ขาย ทำซ้ำ แสดงในที่สาธารณะและสร้างผลงานที่พัฒนามาจากผลงานเดิม ลิขสิทธิ์สำหรับผลงานใหม่มีระยะเวลา 70 ปี ขึ้นอยู่กับว่าคนทำเป็นบุคคลหรือบริษัท ระยะเวลาของลิขสิทธิ์ของผลงานเก่า ๆ นั้นยากแก่การตรวจสอบ จริง ๆ แล้วผลงานเก่าไม่ได้แปลว่าลิขสิทธิ์หมดอายุแล้วเสมอไป เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะขาย ย้าย ให้ หรือให้อนุญาตสิทธิที่มีแต่เพียงผู้เดียวอันใดอันหนึ่ง หรือทั้งหมดให้กับคนอื่น จนกระทั่งหมดระยะเวลาการคุ้มครอง

การจดลิขสิทธิ์และการทำเครื่องหมาย
ใน สหรัฐอเมริกา คุณไม่ต้องจดลิขสิทธิ์เพื่อจะได้รับผลประโยชน์จากการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แต่คุณอาจต้องจดลิขสิทธิ์ถ้าต้องการฟ้องร้องเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของคุณ คุณไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมาย © บนผลงานของคุณ แต่ก็เป็นความคิดที่ดี การที่ไม่มีเครื่องหมาย © ไม่ได้หมายความว่าคุณสามารถลอกผลงานไปใช้ได้ ก่อนได้รับอนุญาต

การขายผลงานที่มีลิขสิทธิ์
ภาย ใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ เจ้าของสินค้าที่มีลิขสิทธิ์ สามารถขายสินค้าชิ้นนั้นได้ เช่น ถ้าคุณซื้อดีวีดีภาพยนตร์ คุณสามารถขายดีวีดีแผ่นนั้นได้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ป้องกันคุณไม่ให้ไปก๊อปปี้ดีวีดีภาพยนตร์แล้วนำแผ่นที่ ก็อปปี้ไปขายต่อ ถ้าคุณได้ซื้อใบอนุญาตสิทธิในการใช้สินค้าที่มีลิขสิทธิ์ คุณควรตรวจสอบใบอนุญาต และปรึกษาทนายของคุณเพื่อดูว่าคุณสามารถขายได้หรือไม่

การขายกับการให้ฟรี
การ คุ้มครองลิขสิทธิ์รวมไปถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการจัดจำหน่ายผลงาน ลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าการให้ผลงานลิขสิทธิ์ที่ก็อปปี้ขึ้นมาโดยไม่ได้รับอนุญาตฟรี ๆ (เช่นวีดีโอที่ก็อปปี้มา) ดังนั้นการขายดินสอที่ราคา $5.00 และ "แถม" ดีวีดีที่ก็อปปี้มาโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการผิดกฎหมาย

สิทธิในการเปิดเผยต่อสาธารณะ
ใน ทำนองเดียวกัน การใส่หน้าของใครบางคน รูป ชื่อ หรือลายเซ็นลงในสินค้าที่ขายนั้น เป็นสิ่งต้องห้ามโดยกฎหมาย “Right of Publicity” ของรัฐแคลิฟอร์เนีย และกฎหมายที่เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวบางอย่าง ดังนั้นการใช้ภาพของคนดังเพื่อการค้า อาจเป็นการละเมิดสิทธิของคนดังคนนั้นถึงแม้ว่าภาพนั้นถ่ายโดยผู้ขายและผู้ ขายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ตาม

เบิร์นคอนเวนชั่น?
เบิร์น คอนเวนชั่นไม่ได้เป็นกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และไม่ได้หมายถึงว่าสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ที่ฝ่าฝืน กฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา ได้ เบิร์นคอนเวนชั่นเป็นสนธิสัญญาสากลที่สหรัฐอเมริกาเซ็นในปี 1989 โดยการเซ็นสนธิสัญญานี้ สหรัฐอเมริกาให้คำมั่นสัญญาว่าจะแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์บางอย่างของตัวเอง

* ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีไว้เพื่อเป็นการแนะนำทางกฎหมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยว่าจะขายสินค้าบนอีเบย์ได้หรือไม่ เราแนะนำให้คุณติดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือปรึกษาทนายความของคุณ

การฝ่าฝืนนโยบายอาจจะเกิดผลตามมาได้หลายอย่างรวมไปถึง

การยกเลิกรายการประกาศขายของคุณ

การจำกัดสิทธิการใช้งานแอคเคานต์ของคุณ

การระงับใช้งานแอคเคานต์

ยึดค่าธรรมเนียมรายการประกาศขายที่ถูกยกเลิก

สูญเสียสถานะ PowerSeller

คำสั่งพื้นฐานในระบบปฏิบัติการ Linux/Unix

คำสั่ง telnet
เป็นคำสั่งที่เปลี่ยน host ที่ใช้อยู่ไปยัง host อื่น (ใน Windows 95 ก็มี)
รูปแบบ $ telnet hostname
เช่น c:> telnet student.rit.ac.th เปลี่ยนไปใช้ host ชื่อ student.rit.ac.th
$ telnet 202.44.130.165 เปลี่ยนไปใช้ host ที่มี IP = 202.44.130.165
$ telnet 0 telnet เข้า host ที่ใช้อยู่นะขณะนั้น
เมื่อเข้าไปได้แล้วก็จะต้องใส่ login และ password และเข้าสู่ระบบยูนิกส์นั้นเอง

คำสั่ง ftp
ftp เป็นคำสั่งที่ใช้ถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง โดยการติดต่อกับ host ที่เป็น ftp นั้นจะต้องมี user name และมี password ที่สร้างขึ้นไว้แล้ว แต่ก็มี ftp host ที่เป็น public อยู่ไม่น้อยเช่นกัน ดังนั้นจะมี user name ที่เป็น publicเช่นกัน คือ user ที่ชื่อว่า anonymous ส่วน password ของ user anonymous นี้จะใช้เป็น E-mail ของผู้ที่จะ connect เข้าไปและโปรแกรมส่วนใหญ่ก็จะอยู่ใน directory ชื่อ pub
รูปแบบ $ ftp hostname
เช่น c:windows> ftp wihok.itgo.com
$ ftp ftp.nectec.or.th
คำสั่ง ftp จะมีคำสั่งย่อยที่สำคัญๆ ได้แก่
ftp> help ใช้เมื่อต้องการดูคำสั่งที่มีอยู่ใในคำสั่ง ftp
ftp> open hostname ใช้เมื่อต้องการ connect ไปยัง host ที่ต้องการ
ftp> close ใช้เมื่อต้องการ disconnect ออกจาก host ที่ใช้งานอยู่
ftp> bye หรือ quit ใช้เมื่อต้องการออกจากคำสั่ง ftp
ftp> ls หรีอ dir ใช้แสดงชื่อไฟล์ที่มีอยู่ใน current directory ของ host นั้น
ftp> get ใช้โอนไฟล์ทีละไฟล์จาก host ปลายทางมายัง localhost หรือเครื่องของเรานั้นเอง
ftp> mget ใช้โอนไฟล์ทีละหลายๆไฟล์จาก host ปลายทางมายัง localhost
ftp> put ใช้โอนไฟล์ทีละไฟล์จาก localhost ไปเก็บยัง host ปลายทาง
ftp> mput ใช้โอนไฟล์ทีละหลายๆไฟล์จาก localhost ไปเก็บยัง host ปลายทาง
ftp> cd ใช้เปลี่ยน directory
ftp> delete และ mdelete ใช้ลบไฟล์

คำสั่ง lsมีค่าเหมือนกับ คำสั่ง dir ของ dos
รูปแบบ $ ls [-option] [file]
option ที่สำคัญ
l แสดงแบบไฟล์ละบรรทัด แสดง permission , เจ้าของไฟล์ , ชนิด , ขนาด , เวลาที่สร้าง
a แสดงไฟล์ที่ซ่อนไว้ ( dir /ah)
p แสดงไฟล์โดยมี / ต่อท้าย directory
F แสดงไฟล์โดยมีสัญญลักษณ์ชนิดของไฟล์ต่อท้ายไฟล์คือ
/ = directory
* = execute file
@ = link file
ld แสดงเฉพาะ directory (dir /ad)
R แสดงไฟล์ที่อยู่ใน directory ด้วย (dir /s)
เช่น
$ ls
$ ls -la

คำสั่ง moreแสดงข้อมูลทีละหน้าจอ อาจใช้ร่วมกับเครื่องหมาย pipe line ( | ) หากต้องการดูหน้าถัดไปกด space ดูบรรทัดถัดไปกด Enter เช่น
$ ls -la | more
$ more filename

คำสั่ง catมีค่าเหมือนกับ คำสั่ง type ของ dos ใช้ดูข้อมูลในไฟล์ เช่น
$ cat filename

คำสั่ง clearมีค่าเหมือนกับ คำสั่ง cls ของ dos ใช้ลบหน้าจอ terminal ให้ว่าง
$ clear

คำสั่ง dateใช้แสดง วันที่ และ เวลา
$ date 17 May 1999

คำสั่ง cal ใช้แสดง ปฏิทินของระบบ
รูปแบบ $ cal month year เช่น
$ cal 07 1999

คำสั่ง lognameคำสั่งแสดงชื่อผู้ใช้ขณะใช้งาน
$ logname

คำสั่ง id ใช้แสดงชื่อและกลุ่มมของผู้ใช้งาน
$ id

คำสั่ง tty แสดงหมายเลข terminal ที่ใช้งานอยู่
$ tty

คำสั่ง hostnameคำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่
$ hostname

คำสั่ง uname
คำสั่งแสดง ชื่อและรุ่นของ OS ชื่อและรุ่นของ cpu ชื่อเครื่อง
$ uname -a

คำสั่ง history
คำสั่งที่ใช้ดูคำสั่งที่ใช้ไปแล้วก่อนหน้านี้
$ history
เวลาเรียกใช้ต้องมี ! แล้วตามด้วยหมายเลขคำสั่งที่ต้องการ

คำสั่ง echo และ banner
$ echo "Hello" ใช้แสดงข้อความ "Hello" ขนาดปกติ
$ banner "Hello" ใช้แสดงข้อความ "Hello" ขนาดใหญ่

คำสั่ง who , w และ fingerใช้แสดงว่าใครใช้งานอยู่บ้างขณะนั้น
$ who
$ w
$ finger ดูผู้ใช้ที่ host เดียวกัน
$ finger @daidy.bu..ac.th ดูผู้ใช้โดยระบุ Host ที่จะดู
$ finger wihok ดูผู้ใช้โดยระบุคนที่จะดูลงไป
$ who am i แสดงชื่อผู้ใช้ เวลาที่เข้าใช้งาน และ หมายเลขเครื่อง
$ whoami เหมือนกับคำสั่ง logname

คำสั่ง pwd แสดง directory ที่เราอยู่ปัจจุบัน
$ pwd

คำสั่ง mkdirใช้สร้าง directory เทียบเท่า MD ใน DOS
$ mkdir dir_name

คำสั่ง cp
ใช้ copy ไฟล์หนึ่ง ไปยังอกไฟล์หนึ่ง
รูปแบบ $ cp [-irfp] file_source file_target
option -i หากมีการทับข้อมูลเดิมจะรอถามก่อนที่จะทับ
option -r copy ไฟล์ทั้งหมดรวมทั้ง directory ด้วย
option -f ไม่แสดงข้อความความผิดพลาดออกหน้าจอ
option -p ยืนยันเวลาและความเป็นเจ้าของเดิม
$ cp file_test /tmp/file_test

คำสั่ง mvใช้ move หรือเปลี่ยนชื่อไฟล์
รูปแบบ $ mv [-if] file_source file_target
ความหมายของ option เช่นเดียวกับ cp
$ mv index.html main.html เปลี่ยนชื่อไฟล์ index.html เป็น main.html

คำสั่ง rmใช้ลบไฟล์หรือ directory โดยที่ยังมีข้อมูลภายในเทียบเท่า del และ deltree ของ dos
รูปแบบ $ rm [-irf] filename
$ rm -r dir_name ลบ dir_name โดยที่ dir_name เป็น directory ว่างหรือไม่ว่างก็ได้
$ rm -i * ลบทุกไฟล์โดยรอถามตอบ

คำสั่ง rmdirใช้ลบ directory ที่ว่าง เทียบเท่ากับ rd ของ Dos
$ rmdir dir_name

คำสั่ง aliasใช้ย่อคำสั่งให้สั้นลง
$ alias l = ls -l
$ alias c = clear

คำสั่ง unaliasใช้ยกเลิก alias เช่น
$ unalias c

คำสั่ง type
ใช้ตรวจสอบว่าคำสั่งที่ใช้เก็บอยู่ที่ใดของระบบ
รูปแบบ $ type command
$ type clear

คำสั่ง findใช้ค้นหาไฟล์ที่ต้องการ เช่น
$ find /usr/bin -name "*sh" -print หาไฟล์ที่ลงท้ายด้วย sh จาก /usr/bin

คำสั่ง grep
ใช้คนหาข้อความที่ต้องการจากไฟล์
$ grep ข้อความ file

คำสั่ง man
man เป็นคำสั่งที่เป็นคู่มือการใช้คำสั่งแต่ละคำสั่งเช่น
$ man ls
$ man cp

คำสั่ง write ใช้ส่งข้อความไปปรากฎที่หน้าจอของเครื่องที่ระบุในคำสั่งไม่สามารถใช้ข้าม host ได้
เช่น $ write s0460003

คำสั่ง mesg
$ mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminal
$ mesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้
$ mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้

คำสั่ง talk
ใช้ ติดต่อสื่อสารแบบสองทาง เหมือนกับการคุยโดยผู้ส่ง ๆ ไปแล้วรอการตอบกลับจาก ผู้รับ สามารถหยุดการติดต่อโดย Ctrl + c สามารถใช้ข้าม host ได้
รูปแบบ $ talk username@hostname

คำสั่ง pine
ใช้อ่านและส่งจดหมายข้างในจะมี menu ให้ใช้

คำสั่ง tar
ใช้ สำหรับ รวมไฟล์ย่อยให้เป็นไฟล์ Packet คล้ายๆกับการ zip หลายๆไฟล์ให้เป็นไฟล์เดียวแต่ขนาดไฟล์ไม่ได้ลดลงอย่างการ zip โดยไฟล์ output ที่ได้จะตั้งชื่อเป็น filename.tar หรือการแตกไฟล์ packet จาก filename.tar ให้เป็นไฟล์ย่อยมักจะใช้คู่กับ gzip หรือ compress เพื่อทำการลดขนาด packet ให้เล็กลง

รูปแบบการใช้

$ tar -option output input
-option ประกอบด้วย -cvf , -tvf , -xvf แสดงดังด้านล่าง
output คือ ไฟล์.tar หรืออาจจะเป็น device เช่น tape ก็ได้
input คือ ไฟล์หรือกลุ่มไฟล์หรือ directory หรือรวมกันทั้งหมดที่กล่าวมา
$ tar -cvf Output_file.tar /home/myhome/*
Option -cvf ใช้สำหรับการรวมไฟล์ย่อยไปสู่ไฟล์ .tar จากตัวอย่าง รวมไฟล์ทุกไฟล์ที่อยู่ใน /home/myhome/ เข้าสู่ไฟล์ชื่อ Output_file.tar
$ tar -tvf filename.tar
Option -tvf ใช้แตกไฟล์ .tar เป็นไฟล์ย่อยๆแบบ preview คือแสดงให้ดูไม่ได้แตกจริงอาจใช้คู่กับ คำสั่งอื่น เพื่อให้ได้ประโยชน์ตามต้องการ เช่น tar -tvf filename.tar |more
$ tar -xvf filename.tar
Option -xvf ใช้แตกไฟล์ .tar เป็นไฟล์ย่อยๆ โดยจะแตกลง ณ current directory

คำสั่ง gzip

ใช้ zip หรือ Unzip ไฟล์ packet โดยมากแล้วจะเป็น .tar เช่น
$ gzip filename.tar ผลที่ได้จะได้ไฟล์ซึ่งมีการ zip แล้วชื่อ filename.tar.gz
$ gzip -d filename.tar.gz ใช้ unzip ไฟล์ผลที่ได้จะเป็น filename.tar

คำสั่ง Compress และ Uncompress

หลังจากการ compress แล้วจะได้เป็นชื่อไฟล์เดิมแต่ต่อท้ายด้วย .Z การใช้งานเหมือนกับ gzip และ gzip -d เช่น
$ compress -v file.tar จะได้ไฟล์ชื่อ file.tar.Z โดย Option -v จะเป็นการ verify การ compress
$ uncompress -v file.tar.Z

Link คู่มือการใช้ Ubuntu

http://www.reo09.go.th/reo09/admin/news/file/6.pdf

http://www.ubuntuclub.com/node/951

http://gotoknow.org/post/tag/ubuntu

สบายๆสไตล์ของฉัน